This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาชีพของชาวภาคกลาง


  
การทำนาปลูกข้าวยังคงเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในภาคกลาง 
  
 
       ด้วยความที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ จึงก่อให้เกิดงานศิลป์ผสมผสานที่งดงาม ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นมรดกของประเทศสืบทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน และบางแห่งทรงคุณค่าจนได้รับการ ยกย่องให้เป็นมรดกของโลกที่ต้องรักษาไว้ชื่นชมร่วมกันตราบนานเท่านาน อีกทั้งวัฒนธรรมประเพณีและการละเล่นต่างๆ ซึ่งยังคงมีให้ชมได้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง เช่น ระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงอธิษฐาน เพลงเหย่ย เพลงแม่ศรี เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงลำตัด เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว กลองยาว และลิเก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงในราชสำนักที่ภายหลังได้นำออกเผยแพร่ทั่วไป เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และดนตรีไทย
       
       พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่กลอง ท่าจีน แควน้อย แควใหญ่ ฯลฯ พื้นที่แถบนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว มีสวนผลไม้ และทำไร่ นอกจากนี้ยังมีกิจการปศุสัตว์ เลี้ยงโคพันธุ์เนื้อพันธุ์นม มีฟาร์มไก่ และเลี้ยงปลา ส่วนจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเลก็ทำการประมง และนาเกลือ รวมไปถึงอาชีพรับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม กิจการพาณิชย์ รับราชการ และงานหัตถศิลป์อีกมากมาย
       
       จากสภาพภูมิประเทศของภาคกลางยังเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย ได้แก่ ภูเขาใหญ่น้อย หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำอันสวยงาม มีพื้นที่ป่าชุ่มชื้นเป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมเป็นน้ำตก มีเกาะแก่งกลางลำน้ำ และ ด้วยเหตุผลที่ภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร จึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ

อาชีพของชาวภาคอีสาน

อาชีพของชาวภาคอีสาน

  1. การประกอบอาชีพ

ปัจจัยความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่มนุษย์ต้องทำงานเพื่อทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพหลักของชาวอีสานที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ อาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือ ประมงน้ำจืด ด้านส่วนในด้านพาณิชยกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม ก็มีอยู่มากเช่น
เดียวกันแต่ไม่ถึงกับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ ยกเว้นอาชีพหัตถกรรมที่ในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นมาก
 

อาชีพเกษตรกรรม


  • การทำนา อาชีพนี้ถือว่าเป็นชีวิตจิตใจของชาวอีสาน โดยจะปลูกชาวอีสานจะปลูกข้าวเหนียวไว้
สำหรับการบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวเจ้าเพื่อจำหน่ายโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี


  • การทำไร่ เนื่องจากพื้นที่ของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง และมีเชิงเขาอยู่ทั่วไปจึงเหมาะที่จะปลูกพืชไร่ ได้แก่ ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย มะเขือเทศและยางพารา เป็นต้น




  • การทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่า มะม่วง ขนุน แตงโม มะขาม ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ 
แก้วมังกร ฯลฯ ซึ่งได้ผลผลิตไม่มากนัก


  • การปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญในภาคอีสาน ได้แก่ โค กระบือ สุกร และไก่ ซึ่งมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโคและกระบือพันธุ์พื้นเมือง ในปัจจุบันเกษตรกรจะเลี้ยง โค – กระบือพันธุ์ผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
     
  • การประมง นอกจากการจับสัตว์น้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอีสานยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์
    น้ำ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน เป็นต้น


  • การอุตสาหกรรม ชาวอีสานจะมีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกรผลผลิตทางเกษตร นอกจากจะนำมาจำหน่ายในลักษณะผลิตผลปฐมภูมิแล้ว ส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิต ในอุตสาหกรรมการ

เกษตรได้อีกด้วย เช่น สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุตสากรรมหนัก ได้แก่ โรงงานทอกระสอบในจังหวัดขอนแก่น อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ในจังหวัดนครราชสีมา โรงงานน้ำตาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

  • การท่องเที่ยวและการบริการ ภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญมีโบราณสถานและโบราณ

วัตถุเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาคอีสานยังมีประเพณีฮีต 12 ที่เป็นเอกลักษณ์ ทัศนียภาพที่สวยงาม และปัจจุบันยังมีสะพานมิตรภาพ ที่ติดต่อกับประเทศลาวสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนาม ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาในภาคอีสาน จึงธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมพัก ที่พัก ร้านอาหาร รถรับจ้าง 
สถานบันเทิงต่างๆ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่

  • ศิลปหัตถกรรม ศิลปหัตถกรรมของภาคอีสานเป็นที่ยอมรับของคนไทยทุกภาคในประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดังได้กล่าวมาแล้วยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ เครื่องปั้น
ดินเผา มีกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี 

เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะสำหรับการใช้สอย เช่น หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว โอ่งน้ำ 

และกระถางปลูกต้นไม้ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ เป็นต้น

เครื่องจักสาน เครื่องจักสานในภาคอีสานมีการผลิตในทุกจังหวัด เพราะทุก ครัวเรือนต้องใช้
เครื่องจักสานในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าว ก่องข้าว กะบุง ตะกร้า เป็นต้น

ชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพของท้องถิ่น ได้มีการเรียนรู้โดยการบอกกล่าวสอนและประพฤติปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาซึ่งได้มีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันชาวอีสานได้นำความรู้จากอดีตบางอย่างอาจจะนำมาปรับใช้กับสภาพชีวิตในปัจจุบันด้วย เช่น การนำยาสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรค การรู้จักแสวงหาอาหารจากธรรมชาติแบบพึ่งตนเอง การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ฯลฯ

อาชีพของชาวภาคเหนือ

อาชีพของชาวภาคเหนือ





   เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน อาชีพเกษตรกรรมที่ควรรู้จักมีหลายอาชีพดังนี้



        1. ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทยตั้งแต่อดีตเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เรียกว่า ชาวนา อาชีพชาวนาจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนในประเทศไทย ชาวนาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

       2. อาชีพทำสวน เป็นอาชีพที่ปลูกผักหรือผลไม้ ผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนเรียกว่า ชาวสวน คือการปลูกผลไม้ ผัก หรือไม้ดอกต่างๆ การทำ สวนในเเต่ละภาคเป็นตามสภาพ ภูมิอากาศ ภาคเหนือนิยมปลูกผัก เเละ ผลไม้เมืองหนาวต่างๆ ภาคใต้ทำสวนยาง พารา มะพร้าว ภาคตะวันออก ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน เป็นต้น



      3. อาชีพทำไร่ เป็นอาชีพที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ผู้ที่ประกอบอาชีพทำไร่เรียกว่า ชาวไร่



     4. อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพสำคัญของไทยควบคู่กับการเพาะ ปลูก เเละการประมง เดิมการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่มักเลี้ยง เพื่อเป็นอาหารหรือ ไว้ใช้งาน เเต่ ปัจจุบันเรายังเลี้ยงเพื่อการค้า อีกด้วย สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน ได้เเก่ ช้าง ม้า วัว ควาย ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร ได้เเก่ หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา เเละ อื่นๆ 

    5.อาชีพประมง เป็นอาชีพที่จับสัตว์นำ้หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ที่ประกอบอาชีพประมงเรียกว่า ชาวประมง การประมงของประเทศไทย มีมากทางเเถบ ทางใต้เเละภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย บริเวณเลียบชายฝั่งทะเล สัตว์น้ำที่ทำการ ประมง ได้เเก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ซึ่งนอกจาก จะเป็นอาหารภายในประเทศเเล้ว เรายังส่ง เป็นสินค้าออก

 อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ และการนำผลผลิตจากเกษตรกรรมมาผลิตเป้นสินค้าที่ใช้เครื่องจัก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เช่น ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป



 อาชีพหัตถกรรม เป็นอาชีพที่เอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ด้วยมือเป็นสินค้า



 อาชีพค้าขาย เราเรียกผู้ที่มีอาชีพค้าขายว่า พ่อค้า หรือ เเม่ค้า ซึ่งเป็นผู้ที่นำผลิตผลต่างๆ มาจำหน่าย เเก่คนในชุมชน ทำให้คนใน ชุมชนได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องไปซื้อหาผลิตผลเหล่านั้นจากผู้ผลิต

          อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน
ทำนา มีฝนตก ต้องปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ทำสวน บริเวณที่อุดมสมบูรณ์
ทำไร่ บริเวญที่อุดมสมบูรณ์
เลี้ยงสัตว์ ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้า

อาชีพของชาวใต้

 
อาชีพของชาวภาคใต้

          ชาวภาคใต้ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ ทำสวน จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่งทะเล ทั้งนี้แล้วแต่ทำเลที่ตั้งบ้านเรือนด้วย เช่น ผู้ที่อยู่ที่ราบเชิงเขา ที่ราบระหว่างเขา จะมีอาชีพทำสวนยางพาราและทำสวนผลไม้ ทำไร่ยาสูบ (ยากลาย) ส่วนผู้ที่อยู่ที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนา จับสัตว์น้ำ และพวกที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล ก็จะทำนา จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่ง เป็นต้น


  การทำนา
ชาวนาใช้ไถ คราด แอก มีเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว เช่น แกะ เคียว ตรูด ครกสี ครกสากตำข้าว แสกหาบข้าว กระด้งฝัดข้าว กระด้งมอญ สอบจูดนั่งใส่ข้าวเปลือก คนภาคใต้นิยมใช้แกะเก็บข้าวทีละรวง สามารถเก็บข้าวได้หมด มีหล้อ(เกราะ) แขวนคอวัวควาย เสียงหล้อดังเป็นการแสดงตำแหน่งที่อยู่

  การทำสวนยางพารา
เครื่องมือมีถ้วยหรือพรกยาง มีดตัดยาง ตะเกียงแก๊ส หินลับมีด หมวก ถังน้ำยาง รางยาง จักรรีดยาง น้ำยาฆ่ายาง ชาวสวนจะตื่นตั้งแต่ตี 2 - 3 ออกกรีดยาง ตอนย่ำรุ่งอากาศเย็นสบายน้ำยางจะไหลออกมา


  
การทำไร่ยาสูบ
ชาวใต้มีพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง จะใช้เวลาทำไร่ยาสูบหลังจากเก้บเกี่ยวข้าวแล้วและปลูกในพื้นที่ก่อนปลูกยางพารา เครื่องมือในการฝานใบยาสูบ มีขื่อฝานยา มีดฝานยา แผงตากยา และโอ่งเก็บยา


  การทำสวนผลไม้
มีเครื่องมือไม่มากนัก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า กรอมเก็บผลไม้ ไม้ขอย ตะกร้า โยงผูกด้วยตะขอไม้สำหรับผูกกิ่งไม้ เมื่อขึ้นเก็บบนต้นสูง มีเชือกยาวสำหรับหย่อนตะกล้าให้คนข้างล่างและยังมีผ้าแล่สะพายไหล่สำหรับใส่พืชผักและผลไม้บางชนิด มีเข่งและโตร๊ะสำหรับใส่ผลไม้

  การเลี้ยงสัตว์
ชาวภาคใต้จะเลี้ยงสัตว์ไว้ข้างบ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่เพื่อเก็บไข่ไก่ปรุงอาหาร มีเครื่องมือได้แก่รังไข่ กรอมไก่


 
การจับสัตว์น้ำจืด
เมื่อน้ำหลากใช้ไซ ส้อน ยอ โมร่ ไปดักจับปลาจับกุ้ง ส่วนแห เบ็ดทง เบ็ดราว ตะข้อง สุ่ม เจ้ย ใช้จับปลาตามหนองน้ำ ลำคลอง ปลาจึงเป็นอาหารหลักของคนใต้


  การประมงชายฝั่ง

ชาวประมงใช้เบ็ดราวผูกไซดักปลา มีการจับปลาดุกทะเลในรูด้วยในบริเวณน้ำตื้น (โดยใช้เครื่องมือ ไซ สวิง ไม้พาย ส่วนเวลากลางคืนเมื่อน้ำใสออกหาปลา ใช้ฉมวกแทงปลา ส่วนบริเวณป่าชายเลน และลำคลองจะดักปลาด้วยแร้ว จับกุ้งด้วยฉมวก
ยามว่างชาวใต้ชอบเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุกไว้ฟังเสียงนกร้อง เช้าจะชักกรงนกขึ้นบนเสาสูงให้นกเขาตากแดด ชอบแขวนรังนกเพื่อให้นกเขาอยู่อาศัย แขวนลูกลมกังหันไม้ฟังเสียงลมกังวาลยามลมพัด และเล่นว่าวชนิดต่าง ๆ เมื่อลมว่าวมา
วิถีชีวิตชาวใต้แต่ดั้งเดิม เป็นชีวิตที่สงบเรียบง่ายแต่มีหลักคิด อุดมการณ์ และยุทธวิธีอันทันสมัยทันเหตุการณ์ เหมาะกับสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เป็นที่น่าเสยดายว่าสิ่งดี ๆ เหล่านี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัตถุนิยมของสังคมปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนจะต้องช่วยกันฉุดรั้งและพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควรซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน