วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ขนมไทยแต่ละภาค

  1.  ขนมไทยภาคใต้


    ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
    • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
    • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
    • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
    • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
    • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
    • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
    • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
    • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
    • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
    • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน


    สูตรการทำขนมไทยภาคใต้



    ส่วนผสมขนมไข่
    -ไข่ขาวของไข่ไก่ 1 ถ้วยตวง
    -แป้งเค้ก 1 ถ้วยตวง
    -น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
    - น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
                       - ผงฟู 1 ช้อนชา


        วิธีทำขนมไข่

    1. ตีไข่ให้ขึ้นฟู แล้วเติมน้ำตาลทีละน้อยจนหมด ตีต่อไปจนน้ำตาลตั้งยอดอ่อน

    2. ร่อนแป้งผงฟูเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใส่แป้งส่วนที่ 1 ลงในไข่ที่ตีแล้ว เคล้าเบาๆให้เข้ากัน ใส่น้ำมะนาวลงไป ใส่แป้งส่วนที่ 2 เคล้าเบาๆอีกครั้ง

    3. ทาน้ำมันพืชที่พิมพ์ขนมอบให้ร้อน แล้วใส่แป้งที่ผสมลงในพิมพ์ปิดฝาอบให้แป้งสุกแห้งจนขนมเป็นสีทอง แกะขึ้นใส่ถาด พักไว้ให้เย็น


    ขนมก้านบัว

    ส่วนผสมตัวแป้ง แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 กิโลกรัม
    น้ำมันพืช 2 ช้อนโตะ
    น้ำ 1 ถ้วย
    น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
    เกลือ 1 1/2 ช้อนชา
    ไข่ไก่ 1 ฟอง
    แอมโมเนีย 2 ช้อนชา
    โซดา 2 ชอนชา
    ส่วนผสมน้ำตาลสำหรับเคลือบ
    น้ำตาลทราย 1 1/4 ถ้วย
    น้ำ 1/2 ถ้วย
    เกลือ 1 ช้อนชา
    แบะแซ 20 กรัม
    ขิงแก่สับละเอียด 75 กรัม ( 1/3 ถ้วย)

    วิธีทำ
    1.ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ทำเป็นบ่อตรงกลาง
    2.ผสมน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย เกลือ ไข่ไก่ แอมโมเนีย โซดา คนให้เข้ากัน
    3.เทส่วนผสมข้อ 2 ลงในอ่างแป้ง นวดให้เข้ากัน พักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
    4.แบ่งแป้งมาคลึงให้มีความหนาประมาณ 1/4 เชนติเมตร ตัดแป้งเป็นชิ้นยาว3-4 เนติเมตร ทำเช่นนี้จนหมดแป้ง
    5.นำแป้งที่ตัดแล้วไปทอดในน้ำมัน จนแป้งมีสีเหลืองกรอบ ตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน
    วิธีทำน้ำตาลเคลือบ ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือ แบะแซ ขิงแก่ ลงในกระทะ นำไปตั้งไฟเคี่ยว จนเหนียวข้น ใส่แป้งที่ทอดแล้วลงคลุกให้เข้ากัน จนน้ำตาลแห้ง จับทั่วตัวแป้ง(ตอนน้ำตาลใกล้จะแห้ง ให้หรี่ไฟลงอ่อนๆ )





    ขนมจู้จุน


    ประกอบด้วย
    แป้งข้าวเจ้า 2 ½ ถ้วยตวง
    แป้งข้าวเหนียว ½ ถ้วยตวง
    น้ำตาลบี๊ป 1 ถ้วยตวง
    น้ำมันสำหรับทอด
    น้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง

    วิธีทำ
    • ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวให้เข้ากัน เติมน้ำลงไปทีละน้อยนวดแป้งให้เข้ากัน เติมน้ำตาลบี๊ป นวดให้แป้งและน้ำตาลผสมกันดีพักไว้อย่างน้อย 30 นาที ตั้งทิ้งไว้ข้ามคืนก็จะดี
    •นำกระทะตั้งไฟเติมน้ำมันใช้ไฟอ่อน เมื่อน้ำมันร้อนจึงใส่แป้งทอดให้เหลืองกลับอีกด้านหนึ่ง เมื่อได้ที่เอาขึ้น พักไว้ในตะแกรงวางบนกระดาษซับน้ำมัน
    1 

    ดูความคิดเห็น


  2. iconmsnKn35.gifขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อ ข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบเป็นต้น



    thumbnailshow95635.jpg


    สูตรการทำขนมไทยภาคกลาง





    ข้าวเหนียวมูน 



    ส่วนผสม


    * ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
    * หัวกะทิ 450 กรัม
    * เกลือป่น 3/4 ช้อนชา
    * น้ำตาลทราย 550 กรัม
    * ใบเตย 3-5 ใบ
    * ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ
    * น้ำใบเตย, น้ำแครอท, น้ำดอกอัญชัญหรือสีผสมอาหารตามชอบ 

    ขั้นตอนการทำ

    1. นำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ (กรณีต้องการทำข้าเหนียวที่มีสีต่างๆ ก็ให้ใส่สีลงไปในน้ำที่แช่ค้างคืนไว้ด้วย)
    2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าว  เหนียวสุก 
     3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ
    4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที ก็สามารถนำไปเสริฟได้ (เวลาเสริฟอาจโรยหน้าด้วยถั่วทอง)

    หมายเหตุ : ข้าวเหนียวมูนสามารถนำไปทานกับ มะม่วงสุก หรือทานกับสังขยา, หรือทานเป็นข้าวเหนียวมูนหน้ากุ้ง + หน้าปลาแห้งและอื่นๆ




    ขนมหม้อแกง

    ส่วนผสม
    เผือกนึ่งสุกหรือถั่วเขียวผ่าซีกนึ่งแล้วบดให้ละเอียด 1 ถ้วยตวง
    ไข่เป็ด 5 ฟอง
    มะพร้าวขูด 1 1/2 ถ้วยตวง
    น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วยตวง
    หอมเจียวสีเหลือง
    น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืช
    วิธีทำ 1.นึ่งเผือกทั้งเปลือกหรือถั่วเขียวผ่าซีกให้สุกปอกเปลือกเผือก แล้วบดให้ละเอียดอย่าให้เป็นเม็ด
    2.ผสมไข่ น้ำตาล มะพร้าว ให้เข้ากัน กรองด้วยผ้าขาวบาง
    3.ผสมเผือกหรือถั่วเขียวกับน้ำกะทิ ในข้อ 2 ค่อย ๆ ผสมทีละน้อย จนเผือกหรือถั่วเขียวละลายเข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน เอาขึ้นตั้งไฟกลาง ๆ คนพอขนมข้นและแข็งตัว
    4.ทาน้ำมันในถาดสำหรับปิ้งแล้วนำขนมใส่ลงในถาด นำเข้าเตาอบหรือผิงไฟล่าง ไฟบน แล้วแต่สะดวก ( พอสุกโรยหอมเจียว แล้วอบต่อสักครู่ )



    ขนมลูกชุบ 

    เครื่องปรุง

    • ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม, น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง, หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง, สีผสมอาหารสีต่างๆ
    ส่วนที่ชุบ
    • วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง, น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
      วิธีทำ
    1. ผสมถั่วบด น้ำตาลทราย กะทิ เข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ
    2. กวนด้วยไฟอ่อนๆ จนล่อนจับกันไม่ติดกระทะ
    3. พักถั่วกวนไว้ให้เย็น นำมาปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆตามต้องการ เสียบไม้ไว้
    4. ใช้พู่กันจุ่มสีระบายลงบนขนมที่ปั้น โดยระบายเลียนแบบของจริง ทิ้งไว้ให้แห้งจึงนำไปชุบวุ้น
    5. ผสมวุ้นกับน้ำยกขึ้นตั้งไฟ ให้ละลายก่อนจึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยววุ้นจนข้น
    6. เอาขนมที่ปั้นแล้วเสียบไม้ ลงชุบวุ้นครั้งเดียวให้ทั่ว ทิ้งไว้จนแห้งแล้วชุบอีก ทำเช่นนี้ประมาณ 3- 4 ครั้ง จะชุบแต่ละครั้งต้องให้เย็น วุ้นแข็งตัวก่อนทุกครั้ง
    7. เมื่อวุ้นแข็งจึงเอาไม้เสียบออก ตกแต่งด้วยก้านและใบให้สวยงาม
    0 

    เพิ่มความคิดเห็น


  3.                                                            ขนมไทยภาคอีสาน     เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขาม หรือมะขามบ่ายข้าว  ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)  ข้าวจี่   ข้าวจี่ทำไม่ยาก เพียงนึ่งข้าวเหนียวเตรียมไว้    ก่อนปิ้งจะเสียบด้วยไม้เสียบลูกชิ้นสักหน่อยก็ดี
     
        ก่อนปิ้งจะเสียบด้วยไม้เสียบลูกชิ้นสักหน่อยก็ดี
     
         ปิ้งไปให้ข้าวส่วนนอกเริ่มแข็ง หอมกลิ่นข้าวไหม้ ปิ้งไปให้ข้าวส่วนนอกเริ่มแข็ง หอมกลิ่นข้าวไหม้ เราก็เอาข้าวที่ปิ้งนี้ ไปชุบกับไข่ให้ทั่ว  เราก็เอาข้าวที่ปิ้งนี้ ไปชุบกับไข่ให้ทั่ว   จะใช้แปรงนุ่มๆชุบไข่แล้วมาทาข้าวก็ได้ค่ะ แล้วแต่ถนัด จะใช้แปรงนุ่มๆชุบไข่แล้วมาทาข้าวก็ได้ค่ะ แล้วแต่ถนัด  

    สูตรการทำขนมไทยภาคอีสาน

    ข้าวจี่ส่วนผสมข้าวนึ่ง     500 กรัมกะทิ        1/2ถ้วย ไข่ไก่       2 ฟองเกลือ       1/2 ช้อนชา ขั้นตอนการทำผสมกะทิและเกลือ คนให้เกลือละลาย ใส่ลงในชามข้าวเหนียว นวดให้เข้ากันปั้นข้าวเหนียว แล้วเสียบไม้ตรงกลางนำไปย่างไฟอ่อนๆ ให้เกรียมเล็กน้อยตีไข่ไก่ให้เข้ากัน แล้วนำข้าวจี่ไปชุบไข่นำไปย่างไฟอ่อนๆอีกครั้ง ให้เกรียมเล็กน้อยลอดช่องส่วนผสมแป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย / แป้งมัน ¼ ถ้วย  / แป้งเท้ายายม่อน  2 ช้อนโต๊ะ / น้ำปูนใส 4 ½  ถ้วย / น้ำใบเตยข้นๆ  ½  ถ้วย  หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว 500 กรัม)  2 ถ้วย / น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วย / น้ำตาลทราย ¼ ถ้วย  / เกลือป่น ½ ช้อนชา / ใบเตยหั่นยาว 4 นิ้ว 5 ใบวิธีทำ1. ผสมแป้งข้าวเจ้า  แป้งมัน  และแป้งเท้ายายม่อมเข้าด้วยกัน  นวดกับน้ำปูนใสทีละน้อยจนแป้งนุ่มมือ  ทิ้งไว้ 30 นาที2. นำแป้งมานวดกับน้ำปูนใสที่ละน้อยจนหมด  แบ่งแป้งออกเป็น 2 ส่วน  คือสีขาวและสีเขียว  นำแป้งส่วนหนึ่งผสมใบเตย  กวนให้สุกเหนียวทั้งสองสี3. ตักแป้งที่กวนแล้วใส่ลงในพิมพ์กดลอดช่องที่พาดอยู่บนถังน้ำเย็น  ใช้ที่กดรีบกดแป้งให้เป็นตัวสวยใส่ลงในน้ำเย็น  ทำสีขาวก่อนแล้วค่อยทำสีเขียว  หมั่นเปลี่ยนน้ำในถังที่ใส่ตัวลอดช่องให้เย็นอยู่เสมอ4. เทน้ำที่แช่ทิ้ง  ใส่น้ำแช่ใหม่อีกครั้ง  แล้วตักใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ5. ผสมน้ำกะทิ  น้ำตาลปี๊บ  น้ำตาลทราย  เกลือ  คนให้ละลาย  กรองด้วยผ้าขาวบางก่อนนำไปตั้งไฟอ่อน  พอเดือดยกลง  เวลาเสิร์ฟตักลอดช่องทั้งสองสีใส่ถ้วย  ตักน้ำกะทิให้พอดีกับตัวลอดช่องใส่น้ำแข็ง  ข้าวโป่งอีสานอุปกรณ์การทำข้าวโป่งอีสาน1.กะละมัง2.ใบตอง3.กระเบื่องหรือไม้แผ่นบางๆ4.หม้อนึ่งข้าว5.กระมวยนึ่งข้าวส่วนประกอบ1.น้ำตาล2.ข้าวเหนียวหรือข้าวเหนียวดำแช่น้ำประมาณ4-5ชั่วโมง3.ไข่ไก่4.ไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดง5. น้ำมันพืชขั้นตอนการทำ1.นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเทลงในกระด้งแล้วคนไปมาให้ไอน้ำออก2.นำข้าวเหนียวที่ที่นึ่งสุกใหม่ไปโขลกให้ละเอียดด้วยครกมอง3.พอข้าวเหนียวละเอียดพอประมาณใส่ไข่โขลกให้เข้ากันกับข้าวเหนียว4.เติมน้ำตาลโขลกให้เข้ากับข้าวเหนียว5.นำข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลกับไข่เสร็จแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆพอประมาณ นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้มผสมให้เข้ากันแล้วทามือและทาแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งติดกับแผ่นพลาสติก แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ตัดไว้วางบนแผ่นกระเบื้องที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำข้าวเหนียวที่ปั้นไว้วางบนแผ่นพลาสติก6.นำแผ่นถุงพลาสติกวางทับแล้วนำกระเบื้องวางทับอีกที แล้วกดให้แป้งกระจายออกเป็นแผ่นวงกลม7.นำแป้งที่กดเป็นวงกลมวางบนเสื่อที่ทำความสะอาดแล้ว8.ทำแบบนี้เรื่อยๆจนแป้งหมด9.แล้วนำข้าวโป่งที่ทำเสร็จมาผึ่งแดดไว้ประมาณ3-4วันแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิด10.นำไปย่างไฟให้พองขึ้นพอเหลืองก็สามารถรับประทานได้ 
  4. ไข่ และเกลือ เพื่อชูรส ข้าวจี่จะได้ไม่จืดชืด ข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาทำข้าวจี่นั้นตามความคิดเห็นส่วนตัวของแม่ปู ควรจะใช้ข้าวที่นึ่งแล้วนิ่มหน่อยอย่างข้าวค้างคืนแล้วนำมาอุ่นอีกจะได้ข้าวเหนียวนิ่มๆ เอามาปั้นเป็นก้อนตามใจชอบแล้วโรยเกลือให้ทั่ว นำไปปิ้งในเตาถ่าน((แม่ปูไม่มีหรอกเตาถ่าน ใช้ปิ้งในเตาอบเอาตามความสะดวก))เวลาแจกให้เด็กๆกินจะได้ไม่ร้อนมื
    ปิ้งไปจนข้าวจับตัวกันดีไข่ที่จะใช้ชุบนี้ใส่เกลือ หรือน้ำปลาเพื่อเพิ่มความนัวด้วยนะคะ("นัว"เป็นภาษาอีสาน ภาษาภาคกลางคือกลมกล่อม)แม่ปูใช้วิธีเอาข้าวชุบลงในชามไข่เลย ง่ายดี


  5.                               ขนมไทยภาคเหนือ 
       ขนมไทยภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
       ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้ หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[9] ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด 

    ขนมไทยประจำจังหวัดภาคเหนือ

    ภาคเหนือ 8 จังหวัด
    1.จังหวัดเชียงราย ข้าวเกรียบสับปะรดนางแล 
    ข้าวเกรียบสับปะรด เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทำสวนสับปะรดพันธุ์นางแลจึงได้มีความคิดทำสับปะรดพันธุ์นางแลที่มีอยู่มาทำเป็นข้าวเกรียบเพื่อส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 

    2.จังหวัดเชียงใหม่ กาละแม 

    กาละแม เป็นสินค้าดั้งเดิมที่มีผู้ผลิตโดยทั่วไป เพื่อใช้รับประทานในเทศกาลต่างๆ และสามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้เป็นของฝากของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่
    3.จังหวัดน่าน ข้าวแต๋นสมุนไพร 
    ข้าวแต๋นสมุนไพร กลุ่มชาวบ้านได้รวบรวมเอาบุคลากรรุ่นหลาน เหลน เข้ามาร่วมกันผลิตข้าวแตน เพื่อให้เป็นสินค้าของชุมชนที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของพรรพบุรุษ ซึ่งข้าวแตนมีชื่อเสียงในด้านความอร่อย กรอบ หวาน สามารถเป็นของฝากและของที่ระลึกของจังหวัดน่าน
    4.จังหวัดแพร่ ขนมครก 
    ขนมครก มีรสชาติ หอม หวาน มัน อร่อย เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า เหมาะสำหรับรับประทานระหว่างทางจึงทำให้ขายดีมากซึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยว หรือนักเดินทางผ่านจังหวัดน่าน
    5.จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมงา 
    ขนมงา เดิมชาวแม่ฮ่องสอนทำขนมงาในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มีการทำน้ำอ้อยเพื่อเก็บไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมากวนในน้ำอ้อย เรียกว่า งาโหย่า ต่อมาได้นำงามาปรับปรุงวิธีการผลิตทั้งส่วนผสม รสชาติ และลักษณะ รูปร่าง ให้ได้รสชาติที่คนส่วนใหญ่นิยม
    6.จังหวัดลำปาง ข้าวแต๋น 
    ข้าวแต๋น เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดลำปาง มีชื่อเสียงมากเนื่องจากมีรูปแบบและขนาดต่างจากข้าวแต๋นท้องที่อื่นๆ มีรูปแบบหลากหลายและมีรสชาติทั้งน้ำอ้อยและแบบดั้งเดิม รสหมูหยอง สมุนไพรและรสน้ำอ้อยผสมงาขาว ปัจจุบันข้าวแต๋นมีชื่อเสียงโด่งดังมีจำหน่ายทั่วทุกภาค
    7.จังหวัดลำพูน กะละแม 
    กะละแม เป็นขนมหวานซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส ในสมัยก่อนเมื่อจะถึงเทศกาลสงกานต์ปีใหม่ไทย ชาวบ้านจะช่วยกันกวนกะละแมเตรียมเอาไว้สำหรับรับแขกที่มารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และได้มีการถ่ายทอดวิธีการทำขนมให้ลูกหลานสืบต่อกันมาจนเป็นของฝากที่นิยมอย่างหนึ่งของจังหวัดลำพูน เพราะมีรสชาติดีและสะดวกในการพกพาเป็นของฝากให้แก่ผู้ใกล้ชิด
    8.จังหวัดอุตรดิตถ์ ขนมเทียนเสวย 
    ขนมเทียนเสวย มีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย มะพร้าว และงาคั่ว อบให้หอมด้วยเทียนอบดอกมะลิและกระดังงา เป็นขนมที่ไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของคนไทยนั้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

    สูตรการทำขนมไทยภาคเหนือ



    ขนมเทียน                                                                                           
    ส่วนประกอบสำหรับแป้งที่ห่อ
    - แป้งข้าวเหนียว 500 g
    - น้ำตาลปีบ 200 g (ถ้า ทำขนมไส้หวาน ไม่ต้องใส่น้ำตาล)
    - น้ำมันพืช สำหรับทาใบตอง

    ส่วนผสมไส้ขนมเค็ม
    - หมูสับ 100 g                                                       
    - ถั่วเขียวเลาะเปลือก 200 g
    - หอมแดงซอย 1/2 ถ.
    - รากผักชี 2 ราก
    - พริกไทยป่น 1/2 ช.
    - กุ้งแห้งป่น 1 ช ( ไม่ใส่ก็ได้ )
    - น้ำ้มันพืช
    - ซอสปรุงรส
    - น้ำตาลทราย
    - ซีอิ้วขาว

    …….วิธีทำไส้……..
    1. ล้างถั่วเขียวแล้วแช่ทิ้งไว้ 3 ชม. นำไปนึ่งให้สุก แล้วนำมาบดหยาบๆ
    2. ซอยหอมแดงแล้วนำไปเจียวในน้ำมันให้เหลือ พักไว้ก่อน
    3. โขลกรากผักชีให้แหลก ใส่พริกไทยป่นเอาหมูสับลงไปคลุก แล้วนำกระทะ
    ตั้งไฟ ใส่น้ำมันพอประมาณ เอาหมูลงผัดให้สุกตามด้วย ข้อ 1ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ตามด้วยกุ้งแห้งป่น ชิมรสให้พอดี

    ส่วนผสมไส้ขนมหวาน
    - มะพร้าวทึนทึก ขูด 1 ถ.
    - งาขาว หรือ งาดำ 1/4 ถ.                                              
    - น้ำตาลปี้บ 100 กรัม
    - น้ำตาลทราย 100 กรัม

    …….วิธีทำไส้……..
    1. ตั้งกะทะ ผัดมะพร้าว จนเหลือง
    2. เติมน้ำตาลปี้บ และน้ำตาลทราย พอส่วนผสมเข้ากัน (สังเกตุ โดย มะพร้าว สามารถปั้นเป็นก้อนได้ )
    3. เติมงา แล้วผัดต่อ สักครู่ แล้วปิดไฟ พักไว้ให้เย็น

    …….วิธีทำขนม…….
    - ละลายน้ำตาลกับน้ำ ยกขึ่นตั้งไฟ เคี่ยวให้หอม ( แป้งขนมไส้หวาน เติมเกลือ 1 ชต. ไม่ต้องใส่น้ำตาล )
    - เอาแป้งทั้งสองอย่างผสมกันในชา เทน้ำตาลที่ละลายแล้วลงไป นวดจนทุกอย่างเข้ากันดี ( สามารถ เติมน้ำได้ ถ้าแป้ง ยังไม่จับกันดี )
    - ปั้นแป้งเป็นก้อนกลมก่อนแล้วแผ่แป้งออกบางๆ ตักไส้ใส่หุ้มแป้งให้มิด
    - เอาน้ำมันทาใบตองเล็กน้อยค่ะ แล้วห่อขนมได้เลยค่ะ
    - เสร็จแล้วเอาไปนึ่งให้สุกประมาณ 45 นาที


    ข้าวต้มหัวหงอก
                                                                                                                       
    วัตถุดิบ:
    1. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 2 ถ้วย
    2. กล้วยน้ำว้า แล้วแต่ขนาดของกล้วย
    3. ถั่วดำต้มสุก ¼ ถ้วย
    4. น้ำตาลทราย มากน้อยตามชอบ
    5. มะพร้าวขูดขาว ½ ถ้วย
    6. เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
    *ใบตอง
    *ตอก (เป็นไม้ไผ่ผ่าซีกบางๆ ใช้เอาไว้มัด เวลาใช้ต้องเอาไปแช่น้ำให้นิ่มก่อน)





    ขั้นตอนการทำ
    1. ข้าวเหนียวนำไปล้างเอาเศษฝุ่นต่างๆ ออกแล้วแช่ทิ้งไว้ ประมาณ 1 ช.ม.
    2. ระหว่างนั้นเตรียมตัดใบตอง สำหรับห่อ เมื่อครบเวลานำข้าวเหนียวมาล้างอีกครั้ง
    3. จากนั้นนำข้าวเหนียวเกลี่ยใส่ที่ใบตอง ต้องอย่าใส่มากเกินไป จะห่อยาก วางกล้วยน้ำว้าแล้วเกลี่ยข้าวเหนียวลงไปอีก
    4. ห่อให้เรียบร้อย อย่าให้แตก แล้วมัดด้วยตอกหัว ท้ายจากนั้นใส่ลงในหม้อที่จะต้ม ใส่น้ำลงไปพอท่วม จากนั้นยกตั้งไฟ
    ต้มจนกว่าข้าวเหนียวจะสุก ตัดเป็นชิ้นพอดีคำ โรยด้วยมะพร้าว เวลากินก้โรยหรือจิ้มน้ำตาล


    ข้าวแต๋น

    ส่วนผสม 
    ข้าวสารเหนียว 5 ลิตร 
    -แตงโม 1 ผล
    -งาขาว 1 ขีด
    -เกลือป่น 1
    -น้ำตาลปี๊บ
    -น้ำอ้อยผง 2 ขีด
    -น้ำมันพืช 1 ขวด
    อุปกรณ์ แบบพิมพ์ ทำจากไม้ไผ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว สูง 1 เซนติเมตร 


    ขั้นตอนการทำ

    1.นำ แตงโม 1 ลูก มาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าให้ได้ 4 แก้ว ใส่เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว(ถ้ามี) คนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะไว้ (ควรทำก่อนนี่งข้าว)
    หมายเหตุ ถ้าไม่มีแตงโม อาจเป็นน้ำผลไม้ชนิดอื่นก็ได้ เข่น มะม่วง หรือผลไม้ตามฤดูกาล
    2.นำข้าวสาร(ข้าวเหนียว) มาแช่น้ำ 1 คืน นึ่งให้สุก พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาคลุกกับ น้ำแตงโมที่เตรียมไว้แล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
    3.น้ำไปกดลงในพิมพ์ ไห้แน่นพอสมควร
    4.นำข้าวออกจากพิมพ์ วางบนตะแกรง แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 1 วันครึ่ง เมื่อแห้งแล้ว เก็บใส่ถึง มัดปากถุงให้แน่น
    5.ใส่น้ำมันพืชให้เต็มกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนจัด เอาข้าวที่จากแห้งแล้วลงทอด ประมาณ 40 วินาที ข้าวแต๋นจะลอยชึ้น ให้ตัดออก นำมาวางบนตะแกรง เพื่อสะเด็ดน้ำมัน และพักไว้ให้เย็น
    6.นำน้ำตาลปี๊บ เคียวไฟให้ตกทราย พักไว้ให้เย็นพอประมาณ แล้วนำมาหยดลงบนข้าว
    7.ใช้ถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ขนาดที่ต้องการบรรจุขาย ถ้าจะให้ดี ปิดปากถุงให้มิดชิด กันลมเข้า วิธีง่ายๆ ไล่ลมออกจากถุง แล้วใช้เครื่องรีดปากถุง
    ข้าวแตนน้ำแตงโมขนมไทยพื้นบ้านจะมีรสชาติอร่อย สะอาด การจัดบรรจุใส่ถุงที่สวยงาม เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อสนใจมาอุดหนุนมากขึ้น


  6. ขนม ไทยภาคเหนือ

    ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
    ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[9]
    ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจาก ข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคืองาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[10]

     ขนม ไทยภาคกลาง

    ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น

     ขนม ไทยภาคอีสาน

    เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่บายมะขามหรือมะขามบ่าย ข้าว ข้าวโป่ง [11]นอก จากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)

     ขนม ไทยภาคใต้

    ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
    ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [13]
    • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
    • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
    • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
    • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
    • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
    • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
    • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
    • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
    • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
    • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
  7. ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจงในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
    ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า)หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
    ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมจากไข่ และเชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ เช่น รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน รับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
    ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์
    ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าาเป็นยุคที่ขนมไทยเป็นที่นิยม
    แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ [1]

    • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
    • ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
    สาคูไส้หมู และข้าวเกรียบปากหม้อขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
    ข้าวและแป้งการนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก[2] ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[3]มะพร้าวและกะทิมะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [3]
    • มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
    • มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[4]
    • มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย
    น้ำตาลแต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำตาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
    ไข่เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [3]ถั่วและงาถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบได้ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[5] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[6]
    • ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้างและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
    • ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
    • ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
    กล้วยกล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[7]สีสีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [3]
    • สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
    • สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
    • สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง
    กลิ่นหอมกลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [3]
    • กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
    • กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
    • กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
    • กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
    ขนมไทยภาคเหนือส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
    ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[8]ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[9]ขนมไทยภาคกลางส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
    ขนมไทยภาคอีสานเป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [10]นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง) [11]ขนมไทยภาคใต้ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
    ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [12]
    • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
    • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
    • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
    • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
    • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
    • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
    • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
    • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
    • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
    • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
    • ขนมดาดา เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับฆานม ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
    • ขนมกรุบ นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเป็นยางมะตูม
    • ขนมก้องถึ่ง ทำจากถั่วลิสงคั่ว คลุกกับน้ำตาลร้อนๆ แล้วใช้ไม้ทุบให้ละเอียดจนเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้น
    ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้
    ขนมไทยในงานเทศกาล
    • สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม) [13] โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ [15]
    • เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ[13] บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี [14]
    • ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด)[16]
    • เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ) [16]
    • ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม[12]
    ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ
    • ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ[21] บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย[22]
    • พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพอง[23]
    • ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ[14]
    • ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ [14]
    • การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา [24] ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน [25] เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน[26]
    • พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด [14]
    • ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน
    • ในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม [27]
    ดูบทความหลักที่ ขนมเมืองเพชร
    • ร้านขนม 9 พี่น้อง ตลาดสด อตก.
    • ร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้
    • ร้านขนมหวานแม่กิมลั้ง
    • ร้านขนมบ้านขวัญ
    • ร้านขนมหวาน กทม2(ร้านค้าที่11) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 (ตึกโยธา)
    ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกสประวัติความเป็นมาของขนมไทยการแบ่งประเภทของขนมไทยวัตถุดิบในการปรุงขนมไทยขนมไทยแต่ละภาคขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาลขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่นร้านขนมที่มีชื่อเสียงขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น



  8. ขนมไทยภาคใต้

    ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้นตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
    • ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
    • ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
    • ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
    • ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
    • ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
    • ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
    • ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
    • ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
    • ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
    • ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
    ขั้นตอนและวิธีการทำขนมหน้าไข่
     
    ส่วนผสมหลัก ๆ
                
    ก็มี… ไข่ไก่, น้ำตาลทราย, แป้งสาลี, นมสด, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว, ลูกเกด ซึ่งหากยึดที่การใช้แป้งสาลี 1 กิโลกรัม จะต้องใช้น้ำตาลทราย 1.2 กิโล กรัม, ไข่ไก่ 20 ฟอง, นมสด 1 กระป๋อง, น้ำสะอาด, น้ำมันพืชหรือเนยขาว และลูกเกด ซึ่ง 3 อย่างหลังก็ใช้พอเหมาะพอสม
    ขั้นตอนการทำ “ขนมไข่”
                
    เริ่มจากนำแป้งสาลีมาร่อน 3 ครั้ง แล้วพักไว้ เพื่อให้แป้งเบาตัว จากนั้นหันไปนำไข่ไก่มาตอกใส่อ่างผสม ตีไข่ ให้ขึ้นฟู แล้วเติมน้ำตาลทรายทีละน้อยจนหมด ตีต่อไปจนส่วนผสมมี ลักษณะที่เรียกว่าตั้งยอดอ่อน ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาทำนานประมาณ 1 ชั่วโมง
    แต่ตรงนี้มี “เคล็ดลับ” คือ…การตีไข่กับส่วนผสมนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ “เครื่องตีเค้ก” เพราะจะเร็วขึ้น ตีแล้วส่วนผสมจะขึ้นดี และทำให้ “ขนมไข่” นุ่มกว่าการตีด้วยมืออีกด้วย
    ลำดับต่อไป นำแป้งสาลีที่เตรียมไว้มาค่อย ๆ ตะล่อมใส่ผสมลงไปในอ่างผสมที่มีส่วนผสมของไข่กับน้ำตาลอยู่ ใส่แป้งสลับกับนมสดจนหมด แล้วเคล้าเบา ๆ ให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี ตั้งพักไว้
    ล้างพิมพ์ขนมไข่ (มีหลายแบบ) ให้สะอาด เช็ดด้วยน้ำมันพืชให้ทั่ว นำไปผิงไฟ โดยใช้เตาถ่านซึ่งคุแดง เกลี่ยพอประมาณ และวางถ่านด้านบนของฝาพิมพ์ด้วย โดยเมื่อเตาร้อนดีแล้ว ใช้ลูกประคบเล็ก ๆ ชุบน้ำมันหรือเนยขาวเช็ดให้ทั่วบริเวณหลุมหรือเบ้าสำหรับหยอดแป้งขนมใน พิมพ์ ก่อนจะหยอดแป้ง หยิบลูกเกด 2-3 เม็ดใส่ลงไปก่อน แล้วจึงใช้ช้อนตักแป้งหยอดเต็มเบ้าพิมพ์
    ขั้นตอนนี้ต้องระวังการใช้ไฟ เพราะขนมอาจไหม้ได้ !!
                    
    ถ้าใช้ไฟกำลังดี ใช้เวลากำลังดี ก็จะได้ขนมไข่ที่สุกกำลังดี โดยให้คอยสังเกตว่าขนมสุกเหลืองดีแล้วก็ใช้ไม้แหลมจิ้มขนมไข่ หรือใช้ส้อมแซะขนมไข่ออกจากเบ้าพิมพ์ ซึ่งขนมไข่ที่ดีมีคุณภาพนั้น ต้องมีสีเหลืองน่ารับประทาน มีกลิ่นหอม มีความกรอบนอกนุ่มใน และอร่อยกำลังดี
    ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นสูตร-วิธีทำ “ขนมไข่” โดยสังเขป ใครที่พอมีพื้นฐานทางการทำขนมอยู่บ้างก็คงจะเข้าใจ ส่วนใครที่ต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ใน “รวมเล่มช่องทางทำกิน เล่ม 6” ซึ่งรวบรวมอาชีพไว้ 50 อาชีพ ทั้งอาหาร ขนม แปรรูป งานประดิษฐ์ ก็จะมีข้อมูลอาชีพการทำการขายขนมไข่ด้วยครับ !!.
     
    ขั้นตอนและการทำขนมก้านบัว
     
     
    ส่วนผสมตัวแป้ง แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 กิโลกรัม
    น้ำมันพืช 2 ช้อนโตะ
    น้ำ 1 ถ้วย
    น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
    เกลือ 1 1/2 ช้อนชา
    ไข่ไก่ 1 ฟอง
    แอมโมเนีย 2 ช้อนชา
    โซดา 2 ชอนชา
    ส่วนผสมน้ำตาลสำหรับเคลือบ
    น้ำตาลทราย 1 1/4 ถ้วย
    น้ำ 1/2 ถ้วย
    เกลือ 1 ช้อนชา
    แบะแซ 20 กรัม
    ขิงแก่สับละเอียด 75 กรัม ( 1/3 ถ้วย)
    วิธีทำ 1.ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ทำเป็นบ่อตรงกลาง
    2.ผสมน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย เกลือ ไข่ไก่ แอมโมเนีย โซดา คนให้เข้ากัน
    3.เทส่วนผสมข้อ 2 ลงในอ่างแป้ง นวดให้เข้ากัน พักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
    4.แบ่งแป้งมาคลึงให้มีความหนาประมาณ 1/4 เชนติเมตร ตัดแป้งเป็นชิ้นยาว3-4 เนติเมตร ทำเช่นนี้จนหมดแป้ง
    5.นำแป้งที่ตัดแล้วไปทอดในน้ำมัน จนแป้งมีสีเหลืองกรอบ ตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน
    วิธีทำน้ำตาลเคลือบ ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือ แบะแซ ขิงแก่ ลงในกระทะ นำไปตั้งไฟเคี่ยว จนเหนียวข้น ใส่แป้งที่ทอดแล้วลงคลุกให้เข้ากัน จนน้ำตาลแห้ง จับทั่วตัวแป้ง(ตอนน้ำตาลใกล้จะแห้ง ให้หรี่ไฟลงอ่อนๆ )
     
    ขั้นตอนและวิธีการทำขนมกอแหละ
    เครื่องปรุงและวิธีทำ            
    นำข้าวเหนียว ๑ ลิตร ล้างน้ำให้สะอาดประมาณ ๒ ครั้ง แล้วแช่ข้าวเหนียวไว้ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้ไปโม่ เทแป้งข้าวเหนียวที่โม่เสร็จแล้วลงในกะทะทองเหลือง ใส่น้ำตาลทรายประมาณ ๑-๑.๕ กิโลกรัม ยกกระทะตั้งบนเตาไฟ ใช้ไม้พายกวนแป้งกับน้ำตาลไปเรื่อยๆ จนแห้งและเหนียว ยกเทใส่ถาดกระจายให้แป้งเต็มถาด วางไว้ให้เย็น เคี่ยวน้ำกะทิข้นๆ ประมาณ ๑ ถ้วย จนกะทิเป็นน้ำมัน และมีขี้มันเป็นสีแดงเข้ม ตักใส่ถ้วยไว้ ใช้มีดตัดขนมเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่ากับขนมเปียกปูน แล้วตักน้ำมันและขี้มันราดลงเป็นขนมแต่ละชิ้น เสร็จแล้วนำไปรับประทานได้

    ขนมกอและห์ เป็นขนมหวานที่มีรสหวาน เหนียวนุ่มอร่อย มักนิยมทำรับประทานกันในบ้านหรือทำเลี้ยงในงานกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังทำขายอยู่ทั่วไปในตลาดยะลา
    ประโยชน์ ๑. เป็นอาหารหวานใช้รับประทานได้
    ๒. เป็นอาหารที่ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท
    ๓. ในสังคมพื้นบ้านนิยมกวนขนมกอและห์แจกจ่าย แลกเปลี่ยนกันเป็นการสื่อความสัมพันธ์ในชุมชน




    ขนมไทยภาคเหนือ

    ขนมไทยภาคเหนือ
                ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
    ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้มในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมิน ทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
    ขั้นตอนและวิธีการทำขนมเทียน
    ส่วนผสม
    -แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
    -น้ำตาลโตนด 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำตัวแป้ง)
    -น้ำตาลโตนด 1 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับทำไส้)
    -ถั่วเขียวกะเทาะเปลือกนึ่ง 2 ถ้วยตวง
    -น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
    -พริกไทย 1 ช้อนชา
    -น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ
    -มะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง
    -เกลือป่น 1 1/2 ช้อนชา
    ขั้นตอนการทำ1. เริ่มจากทำตัวแป้งก่อนโดย นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวจนเหนียวแล้วจึงนำไปนวดกับแป้งข้าวเหนียวจนเข้ากันดี 2. เตรียมทำไส้หวาน โดยนำน้ำตาลโตนดเคี่ยวกับมะพร้าวจนแห้งจึงปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ สำหรับไส้เค็ม ให้นำน้ำมันใส่กระทะไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง จากนั้นใส่ถั่วนึ่ง, พริกไทย, เกลือและน้ำตาลทราย ผัดจนหอมและส่วนผสมเข้ากันทั่วจึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น
    3. ห่อขนมโดยตัดใบตองเป็นแผ่นๆ เช็ดให้สะอาดและทาด้วยน้ำมันนิดหน่อย ตักแป้งใส่แล้วห่อไส้เค็มหรือไส้หวานตามชอบ
    จากนั้นนำแป้งอีก ก้อนวางลงบนไส้ ห่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยม นำไปนึ่งประมาณ 30 นาทีจนสุกดี
     
    ขั้นตอนและวิธีการทำขนมวง
    ส่วนผสม-แป้งข้าวเหนียวประมาณ ๑ กิโลกรัม กล้วยน้ำว้าสุกงอมครึ่งหวี (หรือบางแห่งใช้ฟักทองนึ่งสุกบดละเอียด) น้ำอ้อย ๕ ก้อน (หรือบางแห่งใช้น้ำตาลปี๊บ) หัวกะทิและน้ำมันพืช
    วิธีทำ๑.คลุกแป้งกับกล้วยบด (หรือฟักทองสุก) บดละเอียดให้เข้ากัน ระหว่างนี้เติมน้ำอุ่นลงไปด้วย กะให้เหนียวพอประมาณ แล้วจึงค่อยๆ ใส่หัวกะทิลงไปนวด หมักทิ้งไว้ประมาณ ๒๐ นาที
    ๒. ปั้นแป้งให้เป็นรูปวงแหวนขนาดเล็ก-ใหญ่ตามต้องการ
    ๓. ใส่น้ำมันในกะทะจนร้อนได้ที่แล้วจึงนำขนมวงที่ปั้นไว้ลงไปทอดจนเหลืองทั้งสองด้าน และตักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
    ๔. ละลายน้ำตาลปี๊บกับน้ำเล็กน้อยแล้วนำไปตั้งไฟ เคี่ยวจนน้ำตาลเหนียวแล้วจึงนำขนมวงที่พักไว้มาลงจุ่มเพียงด้านเดียว เมื่อน้ำตาลแห้งก็รับประทานได้
    ๕. ถ้าใช้น้ำอ้อยให้เคี่ยวน้ำอ้อยจนข้นแล้วนำไปเหยาะรอบๆ ขนมวงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง รอจนน้ำอ้อยจับตัวแข็งและกรอบได้ที่ก็รับประทานได้

    ขั้นและวิธีการทำข้าวต้มหัวหงอก
    ส่วนผสม- ได้แก่ ข้าวเหนียว ๑ ลิตร กล้วยน้ำว้า ๑๐ ผล มะพร้าวขูดขาว ๑/๒ กิโลกรัม น้ำตาลทราย ๑/๒ กิโลกรัม เกลือป่น ๑ ช้อนโต๊ะ และใบตองสำหรับห่อ ตองสำหรับมัด
    วิธีทำ -นำข้าวเหนียวมาซาวน้ำ ๒ ครั้ง ฉีกใบตองกว้างพอประมาณ เช็ดให้สะอาดเตรียมไว้ กล้วยน้ำว้าปอกเปือก ผ่าซีก ตักข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ใส่ใบตองเล็กน้อย แล้ววางกล้วยน้ำว้าที่ผ่าไว้ ๑ ซีก ตักข้าวเหนียวใส่ลงบนกล้วย เกลี่ยข้าวหุ้มกล้วยให้มิด พับใบตองเป็นรูปให้มัดได้ จากนั้นนำข้าวต้ม ๔-๕ ห่อ มารวมกัน แล้วมัดด้วยตอกหัวท้าย ใส่มัดข้าวต้มลงในหม้อ ตั้งไฟร้อน ต้มไปจนข้าวต้มสุกยกลงในการต้มข้าวนี้ บางคนจะเอาใบตองมาห่อและมัดเลียนแบบมัดข้าวต้มจริง ๆ เรียกว่า ชู้เข้าหนม (อ่าน จู้เข้าหนม) ใส่บนมัดข้าวต้มในไห เชื่อว่าจะทำให้ขนมหรือข้าวต้มสุกทั่ว
    การรับประทานข้าวต้มหัวหงอก จะแกะข้าวต้มตัดเป็นท่อน ๆ ตามขวาง โรยด้วยมะพร้าวขูด ผสมน้ำตาลและเกลือป่นมากน้อยตามชอบ

     

    ขนมไทยภาคอีสาน

    ขนมไทยภาคอีสาน
                เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
    ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวโป่ง
    ส่วนประกอบ
    1.น้ำตาล2.ข้าวเหนียวหรือข้าวเหนียวดำแช่น้ำประมาณ4-5ชั่วโมง3.ไข่ไก่4.ไข่ต้มเอาเฉพาะไข่แดง5. น้ำมันพืช
    วิธีทำ
    1.นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำมานึ่งให้สุก แล้วนำมาเทลงในกระด้งแล้วคนไปมาให้ไอน้ำออก
    2.นำข้าวเหนียวที่ที่นึ่งสุกใหม่ไปโขลกให้ละเอียดด้วยครกมอง
    3.พอข้าวเหนียวละเอียดพอประมาณใส่ไข่โขลกให้เข้ากันกับข้าวเหนียว4.เติมน้ำตาลโขลกให้เข้ากับข้าวเหนียว5.นำข้าวเหนียวที่ผสมกับน้ำตาลกับไข่เสร็จแล้วนำไปปั้นเป็นก้อนกลมๆพอประมาณ นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วผสมให้เข้ากันแล้วทามือและทาแผ่นพลาสติกเพื่อไม่ให้แป้งติดกับแผ่นพลาสติก แล้วใช้ถุงพลาสติกที่ตัดไว้วางบนแผ่นกระเบื้องที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว นำข้าวเหนียวที่ปั้นไว้วางบนแผ่นพลาสติก6.นำแผ่นถุงพลาสติกวางทับแล้วนำกระเบื้องวางทับอีกที แล้วกดให้แป้งกระจายออกเป็นแผ่น  วงกลม7.นำแป้งที่กดเป็นวงกลมวางบนเสื่อที่ทำความสะอาดแล้ว8.ทำแบบนี้เรื่อยๆจนแป้งหมด9.แล้วนำข้าวโป่งที่ทำเสร็จมาผึ่งแดดไว้ประมาณ3-4วันแล้วเก็บใส่กล่องปิดฝาให้สนิด10.นำไปย่างไฟให้พองขึ้นพอเหลืองก็สามารถรับประทานได้
    ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวต้มมัด
    ส่วนผส
    - ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม แช่ในน้ำอย่างน้อย 3 ชม. ล้างน้ำให้สะอาด
    - หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง
    - เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ
    - กล้วยน้ำว้า 15 ลูก ผ่าตามยาวครึ่งลูก
    - ถั่วดำหรือถั่วขาว 3 ขีด นำถั่วไปต้มพอสุกแล้วตักวางใส่กระชอนวางให้สะเด็ดน้ำ
    วิธีทำ
    - นำข้าวเหนียวที่ล้างน้ำสะอาดแล้วใส่กระทะ พักไว้
    - ผสมหัวกะทิ กับเกลือ ให้เ้ข้ากัน แล้วชิมดู ถ้าไม่เค็มให้เติมให้มีรสเค็ม
    - นำกะทิที่ได้รสเค็มเทใส่ข้าวเหนียว แล้วใส่ถั่วขาวหรือถั่วดำที่ต้มแล้วลงไป แล้วนำไปตั้งไฟแล้วผัด
    - ผัดจนกว่ากะทิแห้ง แล้วยกลงจากเตา
    - วางใบตอบ 2 ขนาดซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ววางบนใบตอง
    - เอากล้วยที่ผ่าซีกวางลงไป แล้วหยิบข้าวเหนียวมาวางปิดกล้วยให้มิด บางๆ
    - ห่อข้าวต้มให้สวยงาม แล้ววางไว้ก่อน หรือห่อไปเรื่อยๆ จนหมด
    - นำข้าวต้มที่ห่อเรียบร้อยแล้วมาจับคู่ หันหน้าเข้าหากันแล้วมัดรวมกัน หัวท้าย (ดูในรูปเอานะคะ)
    - นำข้าวต้มที่มัดเป็นคู่แล้วไปนึ่ง 45 นาที หรือ จนข้าวเหนียวสุก แค่นี้ก็เสร็จขั้นตอนนำมาทานได้แล้วค่ะ อ๊ะ แต่ต้องรอให้เย็นก่อนนะคะ ไม่งั้นปากจะพองได้
    ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวจี่
    วิธีทำ
    1. นึ่งข้าวเหนียว
    2.ปั้นข้าวเหนียว
    3ปรุงไข่ที่เราเตรียมไว้
    4 นำข้าวที่เราเตรียมไว้มาชุบกับไข่
    5. นำข้าวไปจี่ให้ไข่สุก
     

    ขนมไทยภาคกลาง

    ขนมไทยภาคกลาง
                ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
     
    ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวตัง
     
     
    ข้าวตังหน้าตั้ง
    ส่วนผสมข้าวตังหน้าตั้ง
    ข้าวตัง     1/2 กก.
    น้ำมันสำหรับทอด

    ส่วนผสมน้ำจิ้ม
    เนื้อหมูสับละเอียด    1 ถ้วย
    กุ้งสับละเอียด    1 ถ้วย
    กระเทียมซอย    1/2 ถ้วย
    หอมแดงซอย     1/2 ถ้วย
    กะทิ      2 ถ้วย
    น้ำปลา    2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำมะขาม      1 ช้อนโต๊ะ
    น้ำตาลปี๊บ       2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำมันน้ำพริกเผา   1 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำข้าวตังหน้าตั้ง
    1. นำข้าวตัง ทอดกับน้ำมันจนสุกกรอบ พักให้สะเด็ดน้ำมัน
    2. นำกะทิตั้งไฟพอเดือดแล้วเคี่ยวให้แตกมันเล็กน้อย แล้วใส่เนื้อสัตว์ ผัดพอสุก
    3. ใส่ส่วนผสมอื่นๆ ลงตามปรุงรส รสชาติจะออกเปรี้ยว หวาน เค็ม
    4. จากนั้นจึงแต่งหน้าด้วยน้ำมันพริกเผาเล็กน้อย ทอดข้าวตังให้สุกเหลืองกรอบ เสิร์ฟคู่กัน
     
    ขั้นตอนและวิธีการทำทองหยิบ
     
    ความหมายทองหยิบ
       เป็น ขนมมงคล ชนิดหนึ่ง มี ลักษณะ งดงามคล้าย ดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและ ความพิถีพิถัน เป็นอย่างมาก ใน การ ประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อ ขนมทองหยิบ เป็นชื่อ สิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบ พิธีมงคล ต่างๆ หรือให้เป็น ของขวัญ แก่ใครแล้ว จะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับ การงาน สิ่งใดก็จะ ร่ำรวย มีเงินมีทอง สมดังชื่อ "ทองหยิบ"
    ส่วนผสมของขนมทองหยิบ
    ไข่เป็ด                      ๑๐      ฟอง
    น้ำตาลทราย                  ๑       กิโลกรัม
    น้ำลอยดอกมะลิ                ๕       ถ้วยตวง
    วิธีทำ
        ๑. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย ตั้งไปให้เดือด พอเหนียว ตักน้ำเชื่อมขึ้นใส่ถาดไว้พอประมาณ ส่วนที่เปลือตั้งไฟต่อไป    ๒. แยกไข่แดง ไข่ขาว    ๓. ตีไข่แดงให้ขึ้น ไข่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล    ๔. ตักไข่ที่ตีได้ที่แล้วหยอดลงในน้ำเชื่อมที่ตั้งอยู่บนไฟอ่อนให้เป็นวงกลมพอสุกกลับอีกด้านหนึ่งลง
        
    ๕. ตักแผ่นทองหยิบขึ้นวางในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง นิ้วชี้ ของมือซ้าย หยิบไข่ ตามด้วย นิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้ ของมือขวา หยิบขึ้นใส่ในถ้วยตะไล
     
    ขั้นตอนและวิธีการทำลูชุบ
     
     
    ส่วนผสมเนื้อลูกชุบ
    1. ถั่วเขียวนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
    2. น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
    3. หัวกะทิ (มะพร้าว 400 กรัม) 1 ถ้วยตวง
    4. สีผสมอาหารสีต่างๆ

    ส่วนผสมตัวชุบ

    1. วุ้นผง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
    2. น้ำ 2 1 /2 ถ้วยตวง
    3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

    วิธีทำ

    1. นำถั่วเขียวที่กะเทาะเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาดและแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
    2. นำถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ไปนึ่งจนสุก
    3. นำมะพร้าวที่แก่จัดมาขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวขาวอย่างเดียว
    4. คั้นมะพร้าว ด้วยน้ำต้มสุกใส่แต่ทีละน้อย เพื่อให้ได้น้ำกะทิที่ข้นมันตามปริมาณที่ต้องการ
    5. นำกะทิที่ได้มาผสมกับถั่วที่นึ่งจนสุกและขดจนได้เนื้อถั่วที่เนียนละเอียด
    6. นำถั่วที่มีเนื้อละเอียดดีแล้วมาใส่ลงกระทะทองพร้อมทั้งน้ำตาลทรายขาว
    7. กวนด้วยไฟอ่อน ๆ จนเนื้อถั่วข้นเหนียว ล่อนไม่ติดกระทะ
    8. ยกถั่วลงปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    9. แบ่งถั่วเป็นก้อนขนาดเท่ากับลูกชุบที่ต้องการปั้น
    10. นำไปอบควันเทียนมีกลิ่นหอมจรุงทุกเม็ด ก่อนจะนำมาปั้นแต่งจนกลายเป็นผลไม้ชนิดต่าง ๆ
    11. นำลูกชุบที่ปั้นเสร็จแล้วมาชุบวุ้น 2-3 ครั้ง โดยการชุบแต่ละครั้งต้องรอให้วุ้นแห้งก่อนแล้วจึงชุบทับ

    วิธีการอบควันเทียน

    1. นำถั่วที่กวนได้ที่พักไว้ให้เย็น ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกจะทำให้กลิ่นเหม็นของ พลาสติกปนในถั่วกวน
    2. วางถ้วยกระเบื้องเล็กไว้ตรงกลางถั่วกวน
    3. จุดเทียนอบทั้ง 2 ข้าง ให้เปลวไฟติดดีแล้วดับให้เกิดควัน
    4. วางเทียนบนถ้วยกระเบื้อง ปิดฝาให้สนิทพักไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
    5. กลับถั่วด้านบนลงข้างล่าง แล้วจุดเทียนอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้อาจจะพักไว้ค้างคืนเลยก็ได้
     

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น