วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ของฝากขึ้นชื่อภาคใต้

ภาคใต้ 14 จังหวัด



1.จังหวัดกระบี่ คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์
คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกิดจากการแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย รสชาติ หอม หวาน มัน โดยชาวบ้านได้จัดทำเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของจังหวัดกระบี่

2.จังหวัดชุมพร กล้วยหิมพานต์
กล้วยหิมพานต์ เป็นขนมแปรรูปมาจากกล้วยเล็บมือนางและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในจังหวัดชุมพร มีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ดีกว่าแป้งและน้ำตาล รสชาติ หอม มัน กรอบ นิยมซื้อเป็นของฝาก

3.จังหวัดตรัง ขนมเค้ก
เค้กเมืองตรัง ต้นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านลำพูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยลักษณะเด่นของเค้กเมืองตรัง คือ ตรงกลางต้องมีรูและนิยมซื้อหาเป็นของฝาก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ตามต้องการ

4.จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนมลา
ขนมลา ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำผึ้งแล้วละเลงลงกระทะน้ำมันร้อนๆกลายเป็นแผ่น สมัยก่อนเป็นขนม 1 ใน 5 ที่ใช้บรรจุในสำรับเพื่อถวายพระสงฆ์ในงานทำบุญสารทเดือนสิบ ปัจจุบันนี้ขนมลามีจำหน่ายตลอดปี และมีผลิตภัณฑ์ใหม่แปรรูปมาจากขนมลาด้วยการพับแผ่นขนมลาทีละแผ่นเข้าเป็นม้วนเรียกว่า ขนมลากรอบ

5.จังหวัดนราธิวาส ข้าวเกรียบปลาสด (กะโป๊ะ)
ข้าวเกรียบปลาสด ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น

6.จังหวัดปัตตานี ขนมลูกหยี
ขนมลูกหยี ประกอบด้วย ลูกหยี เกลือ น้ำตาลทราย พริก มีรสชาติเปรี้ยว คนในท้องถิ่นได้คิดค้นสูตรในการทำลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ได้รสชาติเป็นที่ติดใจของลูกค้าเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัวอีกด้วย

7.จังหวัดพังงา ขนมเต้าส้อ
ขนมเต้าส้อ เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวพังงาทำมานาน มีไส้ให้เลือกรับประทานหลายชนิด เช่น ไส้เค็ม ไส้หวาน ไส้ถั่วแดง เอกลักษณ์ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต

8.จังหวัดพัทลุง กะละแม
กะละแม จัดเป็นขนมไทยประเภทกวนมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่นมีรสชาติอร่อย หอม หวาน และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน กะละแมเป็นที่นิยมมาก มีหลายรส เช่น กาแฟ ขนุน ใบเตย และอื่นๆ อีกมากมายสามารถเป็นของฝากของที่ระลึกของจังหวัดพัทลุง

9.จังหวัดภูเก็ต ขนมเกือกม้า
ขนมเกือกม้า ทำด้วย แป้งสาลี ถั่วลิสง งาขาว ฟักเชื่อม หอมเจียว น้ำมันพืชเป็นหลัก นิยมนำมารับประทานกับกาแฟ หรือชาร้อนๆ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่แพ้ขนมอื่น

10.จังหวัดยะลา กล้วยหินฉาบ
กล้วยหินฉาบ จะมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความแข็งกว่ากล้วยชนิดอื่น ทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันทำการแปรรูปกล้วยหินเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยหินฉาบเค็ม กล้วยหินฉาบหวาน และอื่นๆ ออกวางจำหน่ายจนได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนปัจจุบันถือว่ากล้วยฉาบหินเป็นของฝากจังหวัดยะลา
11.จังหวัดระนอง ซาลาเปา
ซาลาเปา จังหวัดระนองมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นซาลาเปาที่มีคุณค่าทางอาหารมาก และอร่อย เนื้อนุ่ม ปัจจุบันมีขายมากกว่า 50 ร้าน โดยนักท่องเที่ยวนิยมซื้อรับประทานและเป็นของฝาก

12.จังหวัดสงขลา ขนมดู
ขนมดู เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในรูปแบบการถนอมอาหาร สามารถเก็บไว้รับประทานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น รสชาติขนมดูจะหอมหวาน มัน มีสีน้ำตาลปนดำ ขนมดูเป็นที่นิยมกันมากเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา

13.จังหวัดสตูล บุหงาบุดะ
ขนมบุหงาบุดะ เป็นภาษาอิสลาม บุหงา แปลว่า ดอกไม้ บุดะ แปลว่าดอกเตย รวมเรียกว่าขนมดอกเตย ซึ่งมีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอนสีขาว ทำด้วยมะพร้าวทึนทึกและแป้งข้าวเหนียวผสมด้วย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ กลิ่นกะทิ โดยจะทำขึ้นในเทศกาล ฮิดิลรัฎฮา และพิธีแต่งงาน ซึ่งมีความหมายให้คู่บ่าวสาวร่วมเรียงเคียงหมอนรักกันหวานชื่น ปัจจุบันทำเป็นขนมพื้นเมืองของอำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น
14.จังหวัดสุราษฎร์ธานี กะละแมหรือยาหนม
กาละแม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การกวนยาหนม โดยมีส่วนผสม มะพร้าว แป้ง น้ำตาล ตั้งบนเตาไฟ เทใส่ภาชนะที่แห้งสนิท ห่อเป็นคำๆ บรรจุไว้จำหน่ายโดยปัจจุบันชาวสมุยกวนขนมเพื่อค้าขายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน รสชาติอร่อยหาซื้อรับประทานหรือเป็นของฝาก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น