วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อมูลจังหวัดกระบี่


ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดกระบี่

สภาพภูมิศาสตร์

          จังหวัดกระบี่    เป็นจังหวัดขนาดเล็กที่มากด้วยทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ      และมรดกทาง
วัฒนธรรมอันเก่าแก่ การผสมผสานการดำรงชีวิตของผู้คนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา   และความเชื่อที่แตกต่าง
อย่างกลมกลืน ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ติดกับทะเลอันดามัน   อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปตาม
ทางหลวงแผ่นดินประมาณ    ๘๑๔   กิโลเมตร   มีพื้นที่ ทั้งหมด ๔,๗๐๘.๕๑๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
,๙๔๒,๘๒๐ ไร่                            
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ          ติดต่อกับ จังหวัดพังงาและ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทางด้าน อำเภอปลายพระยา และ  อำเภอเขาพนม

          ทิศใต้             ติดต่อกับ จังหวัดตรัง และทะเลอันดามัน

                             ทางด้านอำเภอเกาะลันตา อำเภอเมืองกระบี่ และ
                             อำเภอเหนือคลอง
          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ  จังหวัดนครศรีธรรมราช   และจังหวัดตรัง
                             ทางด้านอำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และ อำเภอลำทับ
          ทิศตะวันตก      ติดต่อกับจังหวัดพังงา  และทะเลอันดามัน ทางด้าน
                             อำเภออ่าวลึก และ  อำเภอเมืองกระบี่

ตรัง

คำบรรยายภาพแบบสี่เหลี่ยมมุมมน: พื้นที่ 339.843 ตร.กม. ประชากร 28,579  คน ความหนาแน่นของปชก. 84.10 คน:ตร.กม.                                                                                                                                                                                                            ลักษณะภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่     ทางตอนเหนือประกอบด้วย เทือกเขายาวทอดตัวไปใน
แนวเหนือใต้   สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด    และลอนชัน    มีที่ราบชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก
บริเวณทางตอนใต้   มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขากระจัดกระจาย  สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น    ส่วนบริเวณทาง
ตอนใต้สุด และตะวันตกเฉียงใต้   มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาด   จนถึงค่อนข้างราบเรียบ  และมีภูเขา
สูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป  บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นชายฝั่งติดกับทะเลอันดามัน        ยาวประมาณ ๑๖๐
กิโลเมตร    ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่   จำนวน ๑๕๔ เกาะ    แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง ๑๓
เกาะ เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตาและเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง    เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก 
ลักษณะภูมิอากาศ
          จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน  ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก   ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง ฤดูคือฤดูร้อน มี  4  เดือน  เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนเมษายน    ฤดูฝน  มี  เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม  (เรียกว่า ฝนแปด  แดดสี่”)

เขตการปกครอง ศาสนา การศึกษา ประชากร

เขตการปกครอง
          จังหวัดกระบี่ มีเขตการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล(รวมเขตเทศบาลเมือง 2 ตำบล)      389 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง   12 เทศบาลตำบล   และ 48 องค์การบริหารส่วนตำบล
ตาราง     เขตการปกครองจังหวัดกระบี่
อำเภอ
พื้นที่(ตร.กม.)
ระยะทางห่างจาก จว.(กม.)
ตำบล
หมู่บ้าน
หลังคาเรือน
เทศบาลเมือง
เทศบาลตำบล
อบต.
เมือง
648.552
-
10*
59
48,669
1
1
7
เขาพนม
788.522
39
6
54
17,988
-
1
6
เกาะลันตา
339.843
109
5
36
11,414
-
1
5
คลองท่อม
1,042.531
42
7
68
24,243
-
4
5
อ่าวลึก
772.989
47
9
52
18,057
-
2
9
ปลายพระยา
433.367
75
4
35
11,899
-
1
4
ลำทับ
320.708
67
4
28
8,356
-
1
4
เหนือคลอง
362
17
8
57
19,866
-
1
8
รวม
4,708.512

53
389
160,492
1
12
48
หมายเหตุ         รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองกระบี่จำนวน 2 ตำบล       
แหล่งข้อมูล :    - กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร จังหวัดกระบี่
ศาสนา
          ประชากรจังหวัดกระบี่ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ  59.65  ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 39.7  ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.22  ศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 0.43  มีวัดและที่พักสงฆ์ 120 แห่ง มัสยิด 189 แห่ง และโบสถ์คริสตจักร 8 แห่ง
การศึกษา
1. จังหวัดกระบี่มีการจัดระบบการศึกษาออกเป็น   2  ระบบ คือการศึกษาในระบบโรงเรียน  และการศึกษานอกระบบโรงเรียน  ซึ่งแบ่งตามความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
                    1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ รับผิดชอบการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และขยายโอกาสชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวม 224 โรง   3 สาขา สถานศึกษาเอกชนในระบบ จำนวน ๓๙ โรง และนอกระบบโรงเรียน จำนวน 48 โรง
                   1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 (ตรังและกระบี่) จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ชั้น ม.1- ม.6 จำนวน 16 โรงเรียน
                   1.3 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกระบี่ จัดการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ
                   1.4 โรงเรียนราษฎร์ประชานุเคราะห์ที่ 37  จัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา เนื่องจากอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และเป็นเด็กยากจน กำพร้าบิดา-มารดาในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ระนองและภูเก็ต
                   1.5 สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกระบี่ (กศน.กระบี่) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนในพื้นที่ผู้พลาดโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนมีสถานศึกษาคือ ศูนย์ กศน. อำเภอ 8 อำเภอ  และ  กศน. ตำบล จำนวน 53 แห่ง
                   1.6 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (หน่วยประสานงานคืออาชีวศึกษาจังหวัดกระบี่ อยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคกระบี่) มีสถานศึกษาในสังกัดคือ
          - วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
          - วิทยาลัยสารพัดช่างกระบี่
          - วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก
          - วิทยาลัยการอาชีพคลองท่อม
          - วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่




ประชากร
ตาราง  2   ข้อมูลประชากรจังหวัดกระบี่ จากทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายอำเภอ
อำเภอ
ชาย(คน)
หญิง(คน)
รวม(คน)
เมือง        54,132       56,825
110,957

เขาพนม

        26,702       26,462
53,164

เกาะลันตา

        16,525       16,116
32,641

คลองท่อม

        37,605       36,998
74,603

อ่าวลึก

        27,318       27,461
54,779

ปลายพระยา

        19,167       18,827
37,994

ลำทับ

        11,689       11,680
23,369

เหนือคลอง

        30,026       30,470
60,496

รวมทั้งจังหวัด

223,164
224,839
448,003
แหล่งข้อมูล   : กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ณ 30 มิถุนายน  2556

 แผนภูมิ  1        ปิรามิดประชากรจังหวัดกระบี่  ปี  2556


          แหล่งข้อมูล :  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ณ 30 มิถุนายน  2556

ตาราง  3  ข้อมูลประชากรจังหวัดกระบี่   จำแนกตามกลุ่มอายุ

กลุ่มอายุ(ปี)
ชาย
หญิง
รวม(คน)
จำนวน(คน)
ร้อยละ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
0-4
19,721
4.40
18,646
4.16
38,367
5-9
        19,182
4.28
        17,947
4.01
        37,129
10-14
        17,906
4.00
        16,767
3.74
        34,673
15-19
        18,787
4.19
        17,768
3.97
        36,555
20-24
        17,903
4.00
        18,501
4.13
        36,404
25-29
        19,111
4.27
        19,461
4.34
        38,572
30-34
        19,279
4.30
        19,499
4.35
        38,778
35-39
        18,525
4.14
        18,806
4.20
        37,331
40-44
        17,347
3.87
        17,582
3.93
        34,929
45-49
        15,011
3.35
        15,380
3.43
        30,391
50-54
        12,354
2.76
        12,869
2.87
        25,223
55-59
          9,086
2.03
          9,681
2.16
        18,767
60-64
          6,120
1.37
          6,635
1.48
        12,755
65-69
          3,956
0.88
          4,365
0.97
          8,321
70-74
          3,600
0.80
          4,013
0.90
          7,613
75-79
          2,610
0.58
          3,234
0.72
          5,844
80-84
          1,614
0.36
          2,092
0.47
          3,706
85ปีขึ้นไป
          1,052
0.23
          1,593
0.36
          2,645
รวมทั้งสิ้น
223,164
49.81
224,839
50.19
448,003
แหล่งข้อมูล       :  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ณ 30 มิถุนายน  2556

วัยเด็ก     (อายุ 0-14 ปี)         จำนวน   110,167  คน  (ร้อยละ 24.59) ภาระพี่งพิง                 0.37
วัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี)       จำนวน   296,952  คน  (ร้อยละ66.28)    
ผู้สูงอายุ  (อายุ 60 ปีขึ้นไป)      จำนวน     40,884  คน  (ร้อยละ9.13)    ภาระพี่งพิง                0.14
                                                                                      ภาระพึ่งพิงรวม  0.51
ความหนาแน่น         95         คน/ตร.กม.
อัตราการว่างงาน  5.32 (ปี 2556  ที่มา:สำนักงานสถิติจังหวัดกระบี่)





อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด
(LIFE  EXPECTANCY  AT  BIRTH  )
อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชาชนตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ.2550-2554    ชาย  68  ปี หญิง  7๕  ปี  และจากรายงานการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร พ.ศ.2548-2549 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยเมื่อแรกเกิด ชาย 70.6 ปี หญิง 77.5 ปี (รายงานการสาธารณสุขไทย  2548-2553) ในขณะที่จังหวัดกระบี่ในปี  2555  ชาย 73.65  ปี   หญิง  81.61 ปี

    






โครงสร้างพื้นฐาน
          1. แหล่งน้ำ/ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่เป็น สระ/หนอง/บึง รวมทั้งหมด ๑๔๗ แห่งโดยมีปริมาณน้ำที่เก็บได้ ๒๔.๕๗ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่าอำเภอที่มีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อใช้อุปโภค บริโภคและเพื่อการเกษตรน้อยที่สุดคืออำเภอเกาะลันตา อ่าวลึก เหนือคลอง ลำทับ และอำเภอเมือง  ตามลำดับ
          2. การประปา  การประปาส่วนภูมิภาค มี 3 สาขา คือ การประปาส่วนภูมิภาค สาขากระบี่ มีเขตรับผิดชอบอำเภอเมือง อำเภอเหนือคลอง อำเภอเขาพนม การประปาส่วนภูมิภาคสาขาอ่าวลึก มีเขตรับผิดชอบ อำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยา การประปาส่วนภูมิภาคสาขาคลองท่อม มีเขตรับผิดชอบ   อำเภอคลองท่อม อำเภอ
ลำทับ ส่วนการบริการน้ำประปาที่เข้าไปไม่ถึง   จะรับบริการประปาชุมชน     ซึ่งบริหารโดยองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น   เช่น   ประปาหมู่บ้าน ฯลฯ    ข้อมูลการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำประปา   ในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาค
มีผู้ใช้น้ำทั้งสิ้น 28,248 ราย มีกำลังผลิตรวม 34,800 ลบ../วัน น้ำที่ผลิตได้ 9,955,621 ลบ..
          3. การไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าของภาคประชาชน  และภาคธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดกระบี่ ปี   พ..2555  มีจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมด 129,๕๙ราย ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่    จะเป็นภาคสถานธุรกิจ       และอุตสาหกรรม
รองลงมา คือที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการและสาธารณะ และอื่นๆ ตามลำดับ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ใน
จังหวัดรวม 645,090,973.81 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง สามารถให้บริการไฟฟ้าครอบคลุมทั้ง ๘ อำเภอ
          4. การคมนาคมขนส่ง จังหวัดกระบี่มีเส้นทางคมนาคม ๓ ทาง ได้แก่ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ โดยมีเส้นทางดังนี้
          4.1 การคมนาคมทางบก
          - ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี –
ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร – ระนอง – พังงา – กระบี่ รวมระยะทางประมาร   ๙๔๖    กิโลเมตร หรือใช้เส้นทาง
หลวงแผ่นดินหมายเลข   ๔   ถึงจังหวัดชุมพร  ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๔๑     ผ่านอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เข้าอำเภอไชยา อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากนั้น   ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๓๕   ผ่านอำเภออ่าวลึก    และใช้ทางหลวงหมายเลข ๔ อีกครั้ง เข้าสู่จังหวัดกระบี่     รวมระยะทาง ๘๑๔
กิโลเมตร    ถ้าเดินทางจากภูเก็ต   ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดิน   หมายเลข ๔
ผ่านตำบล โคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เข้าอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ รวมระยะทางประมาณ ๑๘๕ กิโลเมตร
          4.2 การคมนาคมทางน้ำ จังหวัดกระบี่มีท่าเรือขนส่งสินค้า/ท่าเทียบเรือการท่องเที่ยว รวมจำนวน 22 แห่ง ท่าเรือน้ำลึก 4 แห่ง

          4.3 การคมนาคมทางอากาศ   จังหวัดกระบี่มีสนามบินนานาชาติ   ๑   แห่ง คือ ท่าอากาศยาน
นานาชาติจังหวัดกระบี่   สังกัดกรมการขนส่งทางอากาศ ตั้งอยู่ในเขต อำเภอเหนือคลอง ห่างจากตัวเมือง
ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
โครงสร้างด้านเศรษฐกิจ
          ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดกระบี่ ปี 2554 (Gross Provincial Product : GPP) ณ ราคาประจำปี      มีมูลค่าเท่ากับ 70,871 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 3  ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน รองจากจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดตรัง ลำดับที่ 6 ของภาคใต้ และลำดับที่ 30 ของประเทศ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 176,057 บาท เป็นลำดับที่ 2 ของภาคใต้ และลำดับที่ 14 ของประเทศ       
          1. การท่องเที่ยว
          จังหวัดกระบี่  ได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยว  มาตั้งแต่ปี พ.๒๕๒๘   มีแหล่งท่องเที่ยวถึง
๕๒ แห่ง   โดยแบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ๔๘ แห่ง  แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์/โบราณสถาน
๒ แห่ง  แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม/หัตถกรรม  ๒  แห่ง  แหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ๒ แห่ง แหล่งท่องเที่ยว
เชิงนิเวศน์  ๑  แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวชมวีถีชีวิตชุมชน  ๓  แห่ง   จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดกระบี่     ปี 2554 จำนวน  2,665,530 คน   (ชาวไทย 1,324,679 คน ชาวต่างชาติ  1,340,851)  รายได้จากการท่องเที่ยว 37,646.09 ล้านบาท
          2. การเกษตร
          จังหวัดกระบี่  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  2,942,820  ไร่   เป็นพื้นที่การเกษตร 2,001,908 ไร่  หรือ   ร้อยละ 85.03 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  คือ ปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่ปลูก 947,569 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 40.93  และยางพารา มีพื้นที่ปลูก 917,045 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.81 ของพื้นที่ทำการเกษตร
          3. การประมง
          จังหวัดกระบี่มีแนวชายฝั่งยาว 160 กม. มีการประกอบอาชีพการประมงพื้นบ้าน การเลี้ยงกุ้งทะเล การทำฟาร์มปลาน้ำกร่อย และการทำฟาร์มอื่นๆ
          4. การอุตสาหกรรม
                    4.1 ผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดกระบี่ได้พัฒนาสินค้าและการบริการของชุมชน โดยมีกลุ่มอาชีพลงทะเบียนในปี 2555 ทั้งสิ้น 233 ราย จำนวน 488 ผลิตภัณฑ์ ได้รับคัดสรรเป็นสินค้าระดับ 5 ดาว จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ประเภทอาหาร 10 ผลิตภัณฑ์ ผ้าเครื่องแต่งกาย 1 ผลิตภัณฑ์
                    4.2 โรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดกระบี่มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ จำนวน 451 โรงงาน ประกอบด้วย โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 21 โรง โรงงานอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน จำนวน 28 โรง โรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น จำนวน 4 โรง โรงงานผลิตยางแท่ง STR  จำนวน 1 โรง โรงงานไม้ยางแปรรูป อัดน้ำยาและอบแห้งไม้ จำนวน 16 โรง ฯลฯ
                    4.3 การทำเหมืองแร่ จังหวัดกระบี่ มีเหมืองแร่ทั้งหมด 7 เหมือง  คือ  หินอุตสาหกรรม 4 เหมือง หินลิกไนต์ 1 เหมือง แร่โดโลไมต์ 1 เหมือง และดินอุตสาหกรรม 1 เหมือง (ดินซีเมนต์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น